เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนหลายๆ คนก็มักมีคำถามเหล่านี้ขึ้นมาในใจ “ตากฝนแล้วเป็นหวัดจริงหรือ?” หรือ “ทำไมตากฝนแล้วเป็นหวัด?”
ซึ่งก่อนที่เราจะมาตอบคำถามเหล่านี้ เราต้องรู้ถึงสาเหตุการเกิดไข้หวัดกันก่อนนะคะ
ไข้หวัดเกิดจากเชื้อไวรัสที่ไม่รุนแรง ซึ่งส่งผลกระทบต่อทางเดินหายใจส่วนต้น คือจมูกและคอ จึงทำให้เกิดอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ และจาม รวมไปถึงอาการเจ็บคอ โดยปกติแล้ว เราจะมีโอกาสสัมผัสกับเชื้อไวรัสเหล่านี้อยู่บ้าง แต่มีโอกาสสัมผัสในปริมาณน้อย สภาวะแวดล้อมไม่เหมาะสม และเรายังมีภูมิต้านทานที่แข็งแรง จึงทำให้มีโอกาสเกิดโรคหวัดได้น้อย
แต่ในช่วงเวลาที่ฝนใกล้ตก มักจะมีกระแสลมแรง และในกระแสลมเหล่านี้มักจะพัดเอาเชื้อไวรัสปะปนมาในปริมาณมาก ดังนั้น หากคุณอยู่ในที่โล่งแจ้งก็จะมีโอกาสได้รับเชื้่อมากขึ้นค่ะ
นอกเหนือจากนี้ หากศีรษะของเราเปียกฝน จะทำให้อุณหภูมิในร่างกายต่ำลงประมาณ 1-2 องศา ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่เหมาะสมมากที่ไวรัสจะแบ่งตัวและเกิดการตกค้างอยู่ในโพรงจมูก และหากรวมเข้ากับไวรัสที่ได้สัมผัสก่อนฝนตกแล้ว เชื้อไวรัสทั้งหมดก็อาจจะมีปริมาณมากเกินที่ภูมิต้านทานของเราจะรับไหว จึงทำให้เกิดเป็นโรคไข้หวัดขึ้นได้ค่ะ
สรุปก็คือ น้ำฝนเพียงอย่างเดียวไม่อาจทำให้เกิดไข้หวัดได้ แต่ต้องอาศัยหลายๆปัจจัยรวมกันนะคะ
Reference : https://th.yanhee.net/
เพจ Doctor B (https://www.clinicya.com)
นพ.สมศักดิ์ หวานกิจเจริญ จากเพจนมพ่อแบบเฮฟวี่
วิธีดูแลตัวเองไม่ให้เป็นหวัดในฤดูฝน
-ไม่อยู่ในที่โล่งแจ้งในช่วงเวลาก่อนฝนตก หรือ หากจำเป็นต้องอยู่ แนะนำให้ใช้ผ้าสะอาดปิดปากและจมูก
-หลีกเลี่ยงไม่ให้ศีรษะโดนฝน
-หากศีรษะเปียกให้รีบเช็ดหรือเป่าให้แห้งโดยเร็ว
-ทำร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ
-หมั่นรับประทานผักผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง
วิธีดูแลตัวเองเมื่อเป็นหวัด
-พักผ่อนให้เพียงพอ
-เลือกอยู่ในสถานที่ ที่มีอุณหภูมิเหมาะสม ไม่หนาว หรือ ร้อนจนเกินไป
-ดื่มน้ำในปริมาณมาก
-รับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการ
-หลีกเลี่ยงการใช้ของร่วมกับผู้อื่น เพื่อลดการแพร่เชื้อ
-หากอาการยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้พบแพทย์โดยด่วนค่ะ
reference : www.chulalongkornhospital.go.th
Comments